วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2559

อาชีพนักร้องตอนกลางคืน (คลิปร้านโคขุน)


สำหรับอาทิตย์นี้เราจะมาดูในเรื่องของการที่มีอาชีพนักร้องตอนการคืน เขามีสังคมแบบไหน การร้องเพลงมีการแบ่งชนชั้นไหม และที่สำคัญการที่เรามีอาชีพนักร้องตอนกลางคืนไม่ใช่แค่ว่าเราชอบเรารักแต่ในอาทิตย์นี้เราจะมาพูดถึงว่า อาชีพนักร้องตอนกลางคืน เขาทำอะไรให้สังคมบาง

เดี๋ยวเราลองไปรับชมคลิปกันเลยครับ



เป็นไงละครับ รู้แล้วใช่ไหมครับว่าอาชีพนักร้องตอนการคืนเขาก็มีการแบ่งชนชั้นเหมือนกันแต่ถึงยังไงการร้องเพลงก็คือสิ่งที่ทุกคนรัก แต่การร้องเพลงนั้นก็ยังมีการทำประโยชน์ให้สังคมนะครับ

***ในต่างประเทศอาชีพนี้ผู้คนจะให้เกียรติมากเวลาร้องเพลงต้องใส่สูทเพราะอาชีพนี้เป็นอาชีพที่มีเกียรติมาก

วันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2559

10 เทคนิคสำหรับนักดนตรีสู่ความสำเร็จ

เทคนิคเล็กๆน้อยๆ สำหรับนักดนตรีรุ่นใหม่ไฟแรง 10 ข้อ สู่ความสำเร็จ ในการออดิชั่น

1.     ตรวจเช็คดูร้านที่เราจะออให้แน่นอนก่อน ว่าเค้าต้องการเพลงสไตล์ไหน รูปแบบไหนและศึกษาข้อมูลคร่าวๆ ของร้าน เช่น โปรโมชั่นเหล้า กิจกรรมพิเศษ เวลาของดนตรีสด หรืออื่นๆเท่าที่เราจะหาได้


2.     นัดวันออ และเวลา อย่างเป็นกิจจะลักษณะ และไปตรงเวลา (เวลาออดิชั่นโดยทั่วไปสำหรับงานโฟล์คและแบนด์จะอยู่ที่ ครึ่งชั่วโมง หรือโดยเฉลี่ยประมาณ 5-7 เพลง) อย่าลืมแต่งตัวสุภาพด้วย เพราะเจ้าของร้านบางร้านเค้าซีเรียส รวมไปถึงการดูดบุหรี่ หรือกินเหล้าในร้านหากเราไปออดิชั่นครั้งแรกและไม่ได้สนิทเป็นการส่วนตัว อย่าให้เค้าเห็นภาพพวกนั้นจะเป็นการดีที่สุด


3.     เลือกเพลงให้กว้างและครอบคลุม โดยมีเกณฑ์เลือกคร่าวๆ คือ (เวลาออดิชั่น ควรเล่นประมาณ 5-7 เพลง พอ)

                3.1.เพลงชาติยอดนิยม 2 เพลง
                3.2.เพลงใหม่แกะกล่อง 1 เพลง
                3.3.เพลงเก่านำมา cover สวยๆ แบบเป็นสไตล์เรา เร็ว 1 เพลง ช้า 1 เพลง
                3.4.เพลงสากล 1 เพลง
                3.5.สุดท้ายที่ขาดไม่ได้ เพลงที่เราถนัดที่สุด 1 เพลง

                (เรื่องนี้เป็นศิลปะที่ขาดไม่ได้ ต้องคำนึงถึงการต่อเพลงที่แนบเนียนด้วย ว่าเราจะส่งเพลงไหนไปไหน)


4.     หากเราไม่ชัวร์เรื่องการปรับมิกซ์และเครื่องเสียงต่างๆ ให้ไปก่อนเวลา นานหน่อย และใช้เวลาเท่าที่ทำได้ในการเซทเครื่อง ตั้งสาย แล้วก็ตรวจดูความเรียบร้อย เพราะนี่คือสิ่งสำคัญที่สุด ให้เราเล่นดีแค่ไหน แต่ซาวน์ออกไปไม่ดี ก็ไม่มีประโยชน์

5.     ในขณะที่เราออดิชั่นอยู่ ถึงแม้จะเป็นเวลาเพียงครึ่งชั่วโมง แต่ให้เว้นช่องว่างระหว่างเพลง ในการพูดคุย ในการแนะนำโปรโมชั่น ให้กับลูกค้า อาจส่งมุขกันระหว่างสมาชิก แต่ให้คิดว่า เราคือนักดนตรีที่นั่นจริงๆ และพยายามหลีกเลี่ยงการพูดว่าเรากำลังออดิชั่นอยู่ ให้ทำเหมือนกับเราคือนักดนตรีประจำไปเลย ทำให้ดีที่สุดในเวลาครึ่งชั่วโมงของเรา และเนียนที่สุด ทั้งเวลาขึ้นเวที จนถึงลงจากเวที ให้ลูกค้าที่เพิ่งเข้ามาคิดว่าเราคือนักดนตรีอาชีพที่อยู่ประจำร้านนั้นแล้วให้ได้



6.     ไม่จำเป็นต้องพูดคุยทุกครั้งที่จบเพลง จัดระยะให้ดีๆ อย่างสมมุติว่าเพลงที่เราจะเล่นต่อกัน ก็เอาเพลงที่สามารถไหลกันไปได้เลย คือ อยู่ในคีย์เดียวกัน อยู่ในโทนเดียวกัน


7.      ในกรณีที่มีลูกค้าขอเพลงขึ้นมา หากเล่นได้ อาจเล่นแถมไป แล้วก็อย่าลืมที่จะพรีเซนต์ให้เจ้าของร้านรับรู้ เช่นว่า พอมีเด็กมาส่งกระดาษขอเพลงให้ พอเรารับมา ก็บอกเลย ว่า "มีคนแนะนำเพลงขึ้นมานะครับยังไงเดี๋ยวจัดเพลงนี้ส่งท้ายเบรคนี้ให้เลยละกัน อยู่ในช่วงสุดท้ายของพวกเรา วง ..... แล้ว สำหรับที่ร้าน....นี้ก็มีดนตรีสดหลากหลายวงสลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันมานะครับ ทุกค่ำคืนเลย
          แล้วพบกับพวกเราใหม่ในโอกาสหน้า ขอบคุณครับ" หรืออะไรก็ว่ากันไป แต่แนะนำว่าให้เล่นเป็นเพลงปิดเบรคของเราไปเลย แต่หากเล่นไม่ได้ ก็อาจออกตัวว่าขออนุญาติจัดเพลงนี้ให้แทนแล้วเลือกเพลงที่ใกล้เคียงกันเอา


8.     เมื่อลงจากเวทีแล้ว ถึงเวลาคุยกับเจ้าของร้าน หากเค้าถามว่าเล่นไหนบ้าง ก็ให้ตอบไปตามความเป็นจริง แต่ในกรณีที่เรายังไม่มีที่เล่น แต่เคยผ่านการประกวดอะไรมา ก็บอกเค้าไป แต่อย่าพูดยืดเยื้อ ให้สั้นกระฉับและมั่นใจเข้าไว้ ส่วนเรื่องเรทราคาค่าตัว ให้เราศึกษาไปให้ดีก่อน ว่าร้านนั้นเค้าเคยให้อยู่เท่าไหร่ บางทีแต่ละโซนแต่ละพื้นที่ ไม่เหมือนกัน แต่ถ้าใน กรุงเทพ เท่าที่พี่ดูแลอยู่ อัตราเฉลี่ย จะอยู่ 500 ต่อคน ต่อ ชั่วโมง(เวลานี่แล้วแต่ตกลงด้วย อาจต้องเป็น ชั่วโมง 15 หรือ ชั่วโมงครึ่ง ก็แล้วแต่รอบที่ร้านจัดสรรไว้)
        พยายามเรียกเรทมาตรฐานไว้ แต่ถ้าเค้าต่อราคา แล้วเราอยากได้ร้านนั้นจริงๆ บวกกับเรายังไม่มีประสบการณ์ก็เอาเท่าที่เราจะรับราคาได้ แต่อย่าให้ต่ำมาก เพราะมันจะเป็นการตัดราคากันเองระหว่างนักดนตรี และยังเป็นการเริ่มต้นที่ไม่ดีเท่าไหร่ จะยากต่อการหางานต่อๆไป ถ้าเราคิดว่าเราเล่นดี ซ้อมมาดีแล้ว ไม่ต้องห่วงเลย ว่าเราจะไม่มีงาน


9.     เรื่องเวลาเล่น แต่ละร้านจะแบ่งเวลาไม่เหมือนกัน บางร้านเค้าอาจจะมีแค่วันละรอบเดียว บางร้านมี 2 บางร้านมี 3 ถ้าให้พี่แนะนำ พี่อยากให้เราคิดไว้ก่อน ว่าต่อๆไปเราจะรับงาน วันละกี่รอบ ถ้าเราคิดว่าเราอยากมีทุกวัน วันละที่เดียว ก็ไม่ต้องห่วงมาก แค่จัดสรรวันให้ลงตัว แต่ถ้าเราคิดว่าเราจะรับงาน วันละหลายรอบ ต้องแบ่งเวลาดีๆ อย่างตัวพี่ อัดงานเต็มที่วันละ 4 รอบ แต่ว่าเป็นงานโฟล์คเดี่ยว คือเล่นคนเดียว+ร้องเอง งานก็เลยเวลาค่อนข้างกว้าง
 .
  รอบแรก 1 ทุ่มครึ่ง - 3 ทุ่ม
                รอบสอง 3 ทุ่มครึ่ง - 5 ทุ่ม
                รอบสาม 5 ทุ่มครึ่ง - ตี 1
                รอบสี่ ตี 1 ครึ่ง - ตี 3

        ก็ดูจัดสรรเวลาให้ดีๆ แล้วก็คิดเผื่อในอนาคตด้วย เพราะไม่งั้นเราจะเลื่อนเวลาลำบากแล้วก็วุ่นวายมาก บางร้านก็จัดเวลาไว้กั๊กๆๆ แบบว่า จัด ขึ้นเวลา 4 ทุ่ม เล่นถึงเที่ยงคืน แต่มีพักเบรคกลาง หรืออะไรก็ว่ากันไป ก็ให้ดูและต่อรองดีๆหน่อย ไม่งั้นต่อไป เราจะวิ่งงานอื่นลำบาก


10.     คุยให้เคลียร์ ว่าเราจะได้ลงวันไหนเวลาไหน หรือหากเจ้าของร้านบอกตรงๆเลยว่าไม่ผ่าน ก็เก็บอาการ แล้วอาจถามไปว่า "พี่อยากได้ประมาณไหนอ่ะครับ เผื่อผมแนะนำพี่ๆ ที่รู้จักกันมา จะได้กระจายข่าวให้" ทำเป็นญาติดีด้วยไปเลย เผื่อเราจะได้รู้สิ่งที่เค้าอยากได้ และเค้าอาจเรียกเราไปออใหม่ในโอกาสอื่นๆ หรือเรียกเราแทนเวลามีงาน
         ให้จำไว้อย่างนึงว่าหากเค้าบอกมาเลยว่าไม่ได้ อย่าไปอ้อนวอน หรือทำเหมือนกับว่าเราเสียใจมาก เก็บอาการไว้ คิดซะว่า ทุกคนเคยเจอเหตุการณ์แบบนี้มา ถ้าไม่ได้ก็ต้องเดินออกจากร้านไปอย่างสมศักดิ์ศรีเรา เพราะเราทำดีที่สุดแล้ว งานดนตรีเนี่ยไม่เหมือนงานอย่างอื่น ขึ้นอยู่กับความชอบล้วนๆเลย พอถึงเวลาเข้าจริงๆ หากเราฝีมืออยู่ในระดับมาตรฐานแล้ว แต่ละคน แต่ละวง จะฝีมือหลุดกันไม่เยอะ ที่จะมาตัดกันจริงๆ คือสไตล์และการนำเสนอ
          เพราะฉะนั้น อย่ายอมให้เค้ากดราคาเรา เพราะถ้าเรามั่นใจซะอย่าง ต้องมีร้านที่พร้อมจะจ้างเราอยู่แล้ว เราอาจได้ร้านใหญ่กว่านั้น ร้านสวยกว่านั้นอีก ไม่ต้องไปซีเรียสกับมันมาก



วันอาทิตย์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2559


วันนี้เราจะพามารู้จักกับอาชีพนักร้องร้านอาหารในร้านอาหารแห่งหนึ่งซึ้งเป็นร้านอาหารเล็กอยู่ในรังสิต การที่เราอยากไปสัมภาษณ์นักร้องร้านอาหารในร้านอาหารเล็กๆเราอยากรู้ว่าเขามีวีธีคิดอย่างไรและมีลักษณะการทำงานแตกต่างจากร้านใหญ่ๆอย่างไร  ไปดูกันเลยครับ




และนี้แหละครับแนวคิดที่แตกต่าง เพียงแค่เพราะว่าพี่เขาชอบการร้องเพลงชอบการแต่งเพลงและชอบเสียงเพลงไม่ว่าจะร้านเล็กหรือร้านใหญ่ขอแค่ได้ร้องเพลง นั่นแหละครับคือคึอความสุข







วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2559

เทคนิคในการร้องเพลง


เทคนิคการร้องเพลง


ปัจจุบันการร้องเพลงให้ถูกต้องตามหลักทฤษฎีเป็นสิ่งจำเป็นในการออกงานสังคมมาก เช่น
ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่มักถูกเชิญขึ้นไปร้องเพลงในงานเลี้ยงที่เป็นทางการของ หน่วยงานต่าง ๆ
หรือแม้แต่ในงานเลี้ยงสังสรรค์ระหว่างเพื่อนฝูง ซึ่งมักจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ การร้องเพลงเป็นจะช่วย
ให้ไม่อายผู้อื่น นอกจากนั้นยังก่อให้เกิดประโยชน์เป็นอย่างมากในด้านการผ่อนคลายอารมณ์ตึง
เครียดจากการงาน และยังเป็นการออกกำลังกายที่ดีอย่างหนึ่งด้วย และหากร้องเพลงได้ไพเราะ
ยังสามารถนำไปประกอบอาชีพสร้างรายได้ให้คุณ่ตนเอง
ดังนั้นการฝึกร้องเพลงจำเป็นต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักทฤษฎีดังนี้
1. ท่าทาง
การปฏิบัติที่ถูกต้องควรจะให้เป็นไปโดยอัตโนมัติ คือยืนตรง เท้าวางห่างกันประมาณ 1 ฟุต
เท้าขวาอยู่หน้าเล็กน้อย ให้รู้สึกว่ากระดูกสันหลังรับน้ำหนักทั้งหมด ฝึกหัดยกหัว เชิดหน้า
ไหล่ตรง แขม่วท้อง หดสะโพก หลังตรง ไม่เกร็งตัว วางตัวตามสบายแต่ให้อยู่ในลักษณะที่ถูกต้อง
ควรยืนห่างจากไมโครโฟนประมาณ 12 – 15 นิ้ว ออกเสียงแต่พอควรไม่เบาหรือดังจนเกินไป
สำหรับผู้ใช้เสียงจากลำคอต้องยืนใกล้ไมโครโฟนมากเพราะเสียงจะออกกังวานต่ำ และเบาแผ่ว
จึงจำเป็นต้องยืนใกล้ไมโครโฟนเหมือนผู้ใช้เสียงจากนาสิก สำหรับผู้ใช้เสียงจากท้องเสียงจะดังมาก
ไม่ต้องอยู่ใกล้ไมโครโฟนเกินไป การฝึกหัดกับกระจกเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะได้เห็นและคุณ้ไข
สิ่งบกพร่องต่างๆ ให้ดีขึ้น และช่วยให้ไม่อายได้
2. การหายใจ
การร้องเพลงให้เสียงดีนั้นขึ้นอยู่กับวิธีการหายใจที่ถูกต้อง ขณะหายใจลมจะผ่านหลอดเสียง
เกิดเป็นเสียงต่าง ๆ ขึ้น ถ้าการหายใจสม่ำเสมอเสียงร้องเพลงก็น่าจะสม่ำเสมอด้วย
ส่วนของร่างกายที่ช่วยบังคับลมหรือการหายใจเรียกว่ากระบังลม กระบังลมเป็นกล้ามเนื้อผืนใหญ่อยู่ใต้ปอด
และอยู่เหนือกระเพาะอาหารทางด้านหน้า ถ้าปอดแฟบแสดงว่าไม่มีอากาศ กระบังลมจะมีลักษณะเหมือนชามคว่ำ
ขณะที่หายใจออกกระบังลมจะดึงขึ้นไปดันปอดทำให้อากาศกลับออกมาผ่านไปตามลำ คอกระทบกับหลอดเสียง
ทำให้เกิดเสียงขึ้น นอกจากการขยายกระบังลมแล้ว ผู้ร้องยังใช้อีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยขยายโพรงอกคือการพองตัว
ทำให้ซี่โครง กางออกการฝึกหายใจ เริ่มด้วยการยืดอกและยืนตัวตรงให้แขนแนบลำตัว ไม่ควรยกไหล่
หายใจเข้าทางปากครึ่งหนึ่ง จมูกครึ่งหนึ่งพร้อม ๆ กันจะทำให้ไม่เกิดเสียงดัง โดยกระบังลมจะทำหน้าที่
ชะลอลมหายใจให้ออกช้าๆ คล้ายกับคาบูเรเตอร์ของเครื่องยนต์ ผู้ร้องจะต้องฝึกหัดหายใจเข้าออก
อย่างรวดเร็วแล้วปล่อยออกช้าๆ ให้ได้นานที่สุด
ข้อสำคัญก็คือ การหายใจเข้า ท้องจะป่องเพื่อเก็บลมและ การหายใจเข้าจะต้องหายใจก่อนเริ่มร้องพอดี
พยายามรักษาสุขภาพอย่าให้เป็นหวัด เจ็บคอหรือต่อมทอมซินอักเสบ อย่าขากเสมหะแรงๆ หรือสั่งน้ำมูกแรงๆ
อย่าดื่มสุราหรือสูบบุหรี่จัดจะทำให้ปอดและหลอดลมอักเสบ

3. การจับเสียงและเข้าจังหวะ ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้
3.1 นึกเสียงที่จะร้องในใจ หมายถึงระดับเสียง เสียงสระความดังเบา
3.2 หายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ เตรียมพร้อมที่จะเปล่งเสียงออกมา
3.3 ริมฝีปาก คุณ้ม และขากรรไกรปล่อยตามสบาย
3.4 ลิ้นไม่กระดกหรือเกร็ง ปล่อยตามสบาย ให้ปลายลิ้นแตะกับฐานฟันล่างเล็กน้อย
3.5 การส่งลม การปรับหลอดเสียง การบังคับปากและการร้องจะเกิดขึ้น วินาทีเดียวกัน
4. คุณภาพของเสียง
ขึ้นอยู่กับหลอดเสียง กล่องเสียง ลำคอ กระพุ้งปาก ลิ้นและศรีษะ เมื่อสูดอากาศออก
อากาศจะผ่านหลอดเสียงทำให้หลอดเสียงสั่นเกิดเป็นเสียงขึ้นมา และเสียงก็จะผ่านลำคอ
และปาก ดังนั้นทั้งในปากและในศรีษะจะทำหน้าที่เป็นช่องขยายเสียง
ในขณะที่ ร้องเพลงจะรู้สึกเสียงพุ่งไปข้างหน้า และมี ?จุด? ที่เสียงรวมกันอยู่ที่หนึ่งที่ใดบนใบหน้า

พยายามให้ ?จุด? นี้ อยู่ที่แถวฟันเหนือปลายลิ้น ไม่ควรให้ ?จุด? นี้อยู่ในลำคอหรือโคนลิ้น
เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อแถวนั้นเกร็งและเสียงที่ออกมาจะไม่น่าฟัง การร้องเพลงควรคิดถึงบรรยากาศ
ที่สวยงามเบิกบานใจ อย่าเกร็งคอหรือหน้า อย่าเกร็งลิ้นหรือกระดกลิ้นขึ้นเพราะจะไปบังลำคอ
ทำให้เสียงที่ออกมาเกร็ง ฟังไม่ชัดและไม่ไพเราะ คือเสียงไม่มีคุณภาพนั่นเอง
5. การออกเสียงของสระและพยัญชนะ
ในการร้องเพลงผู้ร้องต้องคำนึงถึงองค์ ประกอบทั้งสอง คือการออกเสียงสระและพยัญชนะ
ถ้าปราศจากอันหนึ่งอันใดจะร้องเพลงไม่ได้ดีถึงแม้จะมีเสียงไพเราะก็ตามหลัก การร้องสระ แบ่งออกเป็น 4 ข้อคือ
(1) ออกเสียงสระให้ตรงตัว อย่าทำเสียงอื่นปนหรืออย่าออกเสียงผิดๆ
(2) ในการขับร้องหมู่ ผู้ร้องทุกคนควรออกเสียงสระให้เหมือนกัน
(3) สำหรับคำที่มีสระผสม (เช่น คำว่า ?เดียว? มีสระ2 ตัว คือ สระอี และสระอู)
ควรร้องสระเอา (ตัวหน้า) ตามค่าของตัวโน้ตไม่เน้นสระโอ (ตัวหลัง) จนเกินไป
(ในกรณีนี้ไม่เน้นสระอู จะร้องสระอีจนกว่าหมดค่าของโน้ตและสรุปคำด้วยสระอู)
(4) ร้องต่อสระคำหนึ่งไปยังอีกคำหนึ่งให้ต่อเนื่องกัน อย่าร้องขาดเป็นห้วงๆ
สำหรับการออกเสียงพยัญชนะ ผู้ร้องอาจจะปฏิบัติดังนี้คือ “พยายามร้องสระให้ยาวที่สุด
และร้องพยัญชนะให้สั้นที่สุดแต่ชัดเจน”
หลักการร้องพยัญชนะ แบ่งออกเป็น 5 ข้อคือ
(1) ถ้าคำใดขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ ควรร้องพยัญชนะตรงจังหวะ อย่าร้องช้ากว่าจังหวะ
(2) ควรจะเปล่งเสียงพยัญชนะ เช่น เชอะ ฟัก ก่อนจังหวะของมันเล็กน้อย เมื่อจังหวะของมันมาถึง
เสียงที่ร้องจะได้ตรงจังหวะพอดี แล้วร้องสระของคำนั้นทีหลัง (พยัญชนะจะออกเสียงจากไรฟันและช่องข้างลิ้น)
(3) เนื่องจากสระเป็นส่วนสำคัญยิ่งในการร้องเพลง ควรร้องพยัญชนะแต่ละตัวให้สั้น
(4) เปล่งเสียงพยัญชนะทางส่วนหน้าของปาก เพราะสะดวกในการเปล่งเสียงมากกว่าที่อื่น
และเพื่อให้ชัดเจนอย่าออกเสียงพยัญชนะจากโคนลิ้น

(5) ออกเสียงพยัญชนะทุกตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่พยัญชนะเป็นตัวเดียวกันสองตัว เช่น หนักแน่น
หลักการร้องเพลงเสียงต่ำ แบ่งออกเป็น 6 ข้อคือ
(1) ใช้เลียนแบบเช่นเดียวกับการพูด เสียงจะอยู่ที่ริมฝีปาก พยัญชนะและสระอยู่ที่ริมฝีปากไม่ใช่อยู่ในคอ
(2) เมื่อจะเริ่มร้องเสียงต่ำจะต้องเริ่มคิดเสียงสูงไว้
(3) ยิ่งเสียงลงต่ำช่องในปากจะเล็กลง ถ้าปากกว้างไปเสียงจะไม่มีกำลัง
(4) เวลาร้องเสียงต่ำไม่ควรร้องเสียงดัง
(5) บังคับลมและกำลังไว้ไม่ให้พลังออกมามากพร้อมกับเสียง เพราะจะทำให้เสียงหนักเกินไป
(6) ให้เสียงต่ำมีลักษณะก้องหรือสะท้อนกังวานออกมาคล้ายเสียงฮัม
หลักการร้องเพลงเสียงสูง แบ่งออกเป็น 5 ข้อคือ
(1) ใช้สมองหรือใช้ความคิดช่วยในการร้องเสียงสูง เช่น จะร้องเสียงซอลสูง ให้สมมุติว่าจะร้องเสียงสูงเท่ากับที่เคยร้องมาก่อน
(2) การร้องเสียงสูงต้องใช้พยัญชนะเร็วและชัด โดยใช้พลังของลมจากพยัญชนะถึงสระ
(3) การร้องเสียงสูงให้ปล่อยเสียงออกมาตามสบายโดยไม่ต้องบังคับ
(4) เมื่อร้องเสียงสูงให้ปล่อยขากรรไกร ปล่อยลิ้นตามสบาย อ้าปากกว้างไม่ต้องเงยหน้าและไม่เกร็ง
(5) ใช้พลังของลมจากกล้ามเนื้อที่หน้าท้อง เอวและสะโพก แต่ใช้กล้ามเนื้อที่คอเปล่งหรือบังคับเสียง
6. อักขระ
เป็นสิ่งสำคัญในการร้องเพลง โดยเฉพาะคำควบกล้ำ คำสั้นยาว แต่ละคำล้วนมีความหมาย
เพราะบทเพลงแต่ละเพลงที่ถ่ายทอดจากจินตนาการของ นักแต่งเพลง ล้วนมีความหมายและ
อารมณ์อยู่ในตัวของมันเอง ผู้ร้องคือผู้ถ่ายทอดจินตนาการของบทเพลงนั้นๆ ถ้าไม่พิถีพิถัน
ด้านอักขระจะทำให้เพลงนั้นหมดความหมายและอารมณ์ทันที เช่น ฉันรักเธอ เป็น ฉันลักเธอ
ขี่ควายชมจันทร์ เป็น ขี่ฟายชมจันทร์ หนัก เป็น หนาก หรือ เพลง เป็น เพง
ความรู้เรื่องการร้องเพลงที่กล่าวมานี้เป็น เพียงหลักที่ต้องนำไปฝึกหัดและปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ยังมีความรู้ในด้านอื่นๆ อีกเป็นส่วนประกอบ เช่น สัดส่วนของคำ
ควรจะร้องอย่างไรสำหรับจังหวะนั้น ๆ การฝึกเอื้อน ฝึกลูกคอ การโหนเสียง ความรู้ในการรักษาเสียง
ความรู้ในการใช้ไมโครโฟน วิธีการถือไมโครโฟนเป็นอย่างไร การเลือกเพลงที่เหมาะสมกับสถานการณ์
สถานที่ และบุคลิกของตัวเอง รวมทั้งควรมีความเชื่อมั่นในตัวเอง สิ่งเหล่านี้จำเป็นที่จะต้อง ศึกษาไว้ด้วย
อีกเรื่องหนึ่งที่ผู้ร้องควรคำนึงก็คือการวางอิริยาบท ในเวลาร้องเพลงบนเวที สำหรับผู้ร้องที่ไม่ประกอบ
แอ็คชั่นหรือออกท่าทางในเวลาร้องเพลง ต้องอยู่ในลักษณะสงบ ไม่เอียงหน้าไปมาในขณะร้อง ไม่เอามือ
ไขว้หลังหรือประสานมือไว้ข้างหน้า ผู้ที่ยังออกท่าทางไม่ ได้ก็ควรออกความรู้สึกของบทเพลงบางตอน
ทางใบหน้าและสายตาเท่านั้นก็พอ หากบางเพลงจำเป็นต้องมีแอ็คชั่นก็ควรฝึกจากผู้สอนที่มีหลักวิธีจะทำ
ให้ความหมายในบทเพลงดีขึ้น
เรื่องมารยาทของผู้ร้องก็เช่นกัน ขณะอยู่บนเวทีสิ่งที่ควรปฏิบัติคือ ยิ้มและร่าเริงทันทีเมื่ออยู่บนเวที
(นอกเหนือจากการแสดงที่มีการกำกับไว้ตายตัว) ต้องเคารพต่อผู้ฟังผู้ ชมทุกครั้ง อย่าปล่อยอารมณ์ที่ไม่พอใจ
เมื่อได้รับสิ่งที่ไม่พอใจ ตรงต่อเวลาโดยเคร่งครัด
ที่มา : luktung
ฝึกการท่องจำเนื้อเพลงให้แม่นยำ
– นำเพลงบทนั้นมาอ่านเนื้อร้องให้คล่อง
– พยายามออกเสียง พยัญชนะ อักขระ และตัวสะกดต่างๆให้ถุกต้องและถูกวรรคตอน
– เมื่อแน่ใจแล้วก็ลองร้องทั้งเพลง
– ใส่อารมณ์ความรู้สึกตามเนื้อเพลงนั้นๆ
เครื่องดนตรีใน ตัวมนุษย์
เมื่อลมหายใจออก ผ่านกล่องเสียงที่อยู่บริเวณลำคอ จะทำให้สายเสียงสั่น
เกิดเสียงในระดับ ต่างๆขึ้น ยิ่งเมื่อได้โพรงในลำคอและจมูกช่วยการสะท้อนเสียงด้วยแล้วเสียง จะยิ่งมีกังวานมากขึ้น
เสียงสูงๆต่ำๆ ที่เปล่งออกมาอย่างได้จังหวะนี้จัดเป็นเครื่องดนตรีวิเศษสุดชิ้นหนึ่ง ที่มนุษย์สามารถบรรเลงได้โดยตัวเอง
เสียงที่เปล่งออกมาได้อย่างแจ่มใส ตรงโน้ต มีกังวานชวนฟังนั้นย่อมมาจากลมหายใจในช่องท้องจำนวนพอเหมาะที่จะทำให้ เสียงสั่นในความถี่ที่ต้องการ
ในทางตรงข้ามถ้าลมไม่พอ เสียงที่ออกมาจะไม่สดใส บางทีอาจเพี้ยนไปการหายใจจึงเป็นเรื่องสำคัญ ไม่เพียงเป็นผู้ให้ชีวิตเท่านั้น
แต่ยังเป็นขุมพลังมหาศาลแก่เครื่อง ดนตรีวิเศษชิ้นนี้อีกด้วย 
การหายใจแบ่งอย่างคร่าวๆ ได้เป็น 2 ช่วง
ช่วงแรก หายใจก่อนร้องเพลง เอาลมไปเก็บไว้ในช่องท้องและปอดเพื่อเป็นแรงสำคัญในการร้อง วรรคแรกของเพลงให้จับใจผู้ฟัง
ขณะร้องเพลงไปก็ผ่อนลมหายใจออกมาจนลมที่ เก็บไว้หมดไปทุกทีทำให้ต้องหายใจเอาลมครั้งใหม่เข้าไปอีกอีก
ประการหนึ่งแม้ว่าลมจะยังไม่หมดแต่เราคงกลั้นลมหายใจนานๆไม่ได้เพราะใน ช่วงนี้ร่างกายขาดออกซิเจน
การหายใจขณะร้องเพลงจึงเป็นเรื่องหนีไม่พ้นจัดเป็น การหายใจที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่ต้องกระทำกัน
ปัญหาที่มักพบกัน
ก็คือปัญหาลมมาอัดอยู่ในคอจนเกิดอาการเกร็งร้องไม่ออกวิธีแก้ คือ ให้หมุนคอไปมา ลมจะออกมาบ้าง ช่วยให้สบายขึ้น
การฝึกฝน
การหายใจทั้ง 3 จังหวะนี้ ควรทำเป็นประจำทุกวันโดยเริ่มทำช้าๆ ก่อน แล้วค่อยเร็วขึ้น อาจรู้สึกหน้ามืด เป็นเพราะมีเลือดฉีดขึ้นไปเลี้ยงสมองมากเกินไป
ถ้าเป็นเช่นนั้น ก็ให้พักเสีย การฝึกหายใจอย่างสม่ำเสมอ เท่ากับเป็นการบริหารอย่างหนึ่งช่วย ให้กล้ามเนื้อกระบังลมแข็งแรงและมีพลังในการร้องเพลง
เราควรเลือกหายใจตรงไหนดี
บางคนเลือกหายใจทุกระยะที่รู้สึกติด ขัด คือลมหมดเมื่อไรก็หายใจเมื่อนั้น
วิธีนี้เสี่ยงหน่อย ถ้าหยุดไม่ถูกที่ อาจทำให้เพลงขาดหายไปเฉยๆ
ผู้ฟังหมดอารมณ์ต่อเนื่องไป อย่างน่าเสียดาย บางคนเลือกหายใจเอาที่ระยะหมดประโยคในเพลงซึ่งพอจะแก้ไข ข้อเสียของรายแรกได้
แต่ก็ไม่วายมีข้อติ คือ ถ้าผู้ร้องผ่อนลมหายใจตอนแรกมากเกินไปพอถึงตอนท้ายประโยคลมจะไม่พอ ทำเสียงเพี้ยนหรือเสียงแกว่ง หรือขาดหายไป ทำให้ไม่เพราะ
นักร้องที่ฉลาด
จะหาจุดหายใจในเพลงของตัวก่อนอย่าง อื่น และซักซ้อมไว้ให้ดีจนคนฟังจับไม่ได้ บางท่านหยุดหายใจพวกคำตายต่างๆที่ต้องลงท้ายด้วยแม่ กก กด กบ
เพราะสระ พวกนี้มีเสียงสั้นไม่ต้องเอื้อนอีกที่หนึ่ง ได้แก่บริเวณท้ายประโยคแต่ละตอนของเพลงเราอาจหยุดหายใจสั้นๆก่อนตัวสุด ท้าย เพื่อจะได้มีพลังไว้ยืดโน้ตตัวสุดท้ายนั้นทำให้เสียงฟังนุ่มนวล ขึ้น
การฝึกหายใจ
เป็นหลักสำคัญ ในการร้องเพลง เพราะลมที่ได้จากการหายใจแต่ละครั้ง หมายถึง ชีวิตและพลังควรที่ผู้สนใจทางด้านนี้จะฝึกฝนไว้จนเกิดความเคยชิน
นอกจากนี้การร้องเพลงให้ได้ดี ยังต้องอาศัยองค์ประกอบอื่นอีกมากเช่น สำเนียงร้องที่ชัด การใช้ปากกับการออกเสียง อารมณ์
ตลอดจนการทำเสียงให้ไพเราะโดยอาศัยการ เคลื่อนไหวของกราม การทำเสียงรัว ฯลฯ เป็นต้น
หูของตัวจะเป็นครูที่ดีบอกให้รู้ว่า เสียงที่ออกมานั้น มีคุณภาพแค่ไหนหรือถ้าใครอยากให้คนอื่นช่วยฟังก็คง จะดียิ่งขึ้น
แต่แม้จะเตรียม ลูกเล่นไว้มากมาย ถ้าไม่หายใจเตรียมพลังเสียอย่าง ลูกเล่นก็หมดความหมาย


วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2559

ในอาทิตย์นี้เราจะมาแนะนำอาชีพนักร้องตอนกลางคืนที่ร้านอาหาร Audchara City ร้านนี้ตั้งอยู่ที่จังหวัดสระบุรีเดินทางเส้น ลพบุรี-เพชรบูรณ์ เราได้สัมภาษณ์นักร้องที่ร้านอาหารนี้ซึ่งเราได้แนวคิดถึงในเรื่องต่างๆในการทำงานอาชีพแบบนี้มากมายเดี๋ยวเราลองไปรับชมกันเลย





ในคลิปนี้ทำให้เราเห็นถึงในมุมของการเอนเตอร์เทนว่าเราความมีการเรียกร้องความสนใจในคาแร็กเตอร์ของตัวเองอย่างไรที่จะทำให้ลูกค้าชอบและยังรวมไปถึงวิธีการเก็บเงินจากการทำอาชีพนี้ว่าเราควรมีวิธีการเก็ยเงินอย่างไรและพี่เต้ก็ยังฝากเป็นกำลังใจให้กับคนที่ทำงานอาชีพนี้ว่าให้ทุกคนสู้ๆอย่าท้อเพราะสิ่งที่เราทำอยู่ไม่มีใครทำได้แบบเรา










   

























สำหรับอาทิตย์นี้เชื่อว่าทุกคนคงได้ความรู้มากมากจากการที่ได้ดูคลิปอาชีพนักร้องตอนกลางคืนและคงมีกำลังใจทำงานกันมากขึ้นนะครับ



วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2559

การดูแลรักษาเสียงก่อนร้องเพลง

การดูแลรักษาเส้นเสียงก่อนร้องเพลง

       ก่อนอื่นเราต้องมารู้จักกับ สายเสียง  เป็นอวัยวะที่สำคัญในการสร้างเสียง หากไม่ดูแลรักษาสายเสียงให้ดี ใช้เสียงไม่ถูกต้อง อาจทำให้เกิดพยาธิสภาพของสายเสียงได้  เช่น สายเสียงอาจจะอักเสบ บวมแดง หรือโก่งงอ เกิดตุ่มเนื้อที่สายเสียง อาจทำให้เสียงผิดปกติไป เช่น เสียงแหบ เสียงอาจขาดหายไปในตอนท้ายคำพูดหรือประโยค มีลมแทรกเวลาพูด เสียงแตกพร่า พูดแล้วเหนื่อย ร้องเพลงหรือขึ้นเสียงสูงไม่ได้ พูดไม่มีเสียง ต้องเค้นคอให้เสียงออก ดังนั้นเพื่อให้มีสายเสียงที่มีคุณภาพดีไว้ใช้นานๆ จึงควรใส่ใจดูแลรักษาสุขภาพของสายเสียง



หลังจากที่ได้ค้นพบว่าการดูแลรักษาเสียงของตัวเองนั้นสำคัญมากๆครับ มันมีหลายวิธีด้วยกัน การจะให้เสียงของเรามีคุณภาพเสียงที่ดีส่วนหนึ่งคือการที่เราจะรักษาเสียงร้องของเรายังไงให้ถูกวิธี ไว้ร้องเพลงได้นานๆ เพราะแค่การใช้ชีวิตแบบผิดวิธี การพักผ่อนน้อยก็นำมาของคุณภาพเสียงที่แย่ลงครับ การกิน การทำงานต่างๆที่มีผลต่อเสียงของเรานั้นก็สำคัญ ผมจึงมีข้อแนะนำดีๆมาฝากนักร้องกันครับ 

มาว่ากันในเรื่องของสิ่งที่ไม่ควรรับประทานก่อนนะครับ อาหารหรือเครื่องดื่มที่นักร้องอย่าทานเยอะก่อนร้องเพลง มีดังนี้
  1. น้ำเย็น
  2. อาหารทอดต่างๆ
  3. ของเผ็ด
  4. อาหารที่มีรสหวานมากๆ
เพราะเมื่ออาหารเหล่านี้เข้าไปผ่านลำคอมันจะค้างอยู่ในลำคอ ทำให้การออกเสียงของเราทำให้ออกมาได้ไม่เต็มที่ เหมือนมีอะไรมาขัดอยู่ในลำคลอ ทำให้เกิดการระคายคอ ร้องเพลงไม่เต็มที่ ปัจจัยอีกอย่างที่จะทำให้เสียงเราแย่ลงเรื่อยๆคือ
  1. การสูบบุหรี่
  2. การพักผ่อนที่น้อยกว่าปรกติ ไม่เพียงพอ
  3. การสูดเอาดรายไอซ์เข้าไปมากๆระหว่างร้องเพลง
  4. การรับประทานจนอิ่มมากๆก่อนขึ้นร้อง
  5. ไม่ได้วอร์มเสียง


10 สิ่งที่ควรกินและควรปฏิบัติเพื่อรักษาเสียงร้องของตัวเอง
  1. ทานน้ำเยอะๆหลังอาหารและก่อนนอน
  2. ก่อนร้องเพลงทานน้ำเยอะๆ ไม่ให้คอแห้ง
  3. งดสูบบุหรี่เด็ดขาด
  4. งดใช้เพลงที่ต้องใช้การตะโกน ตะคอก สภาพเสียงจะได้ไม่เสีย
  5. ในคนที่เล่นดนตรีอาชีพตอนกลางคืนนั้นต้องรักษาสุขภาพให้ดีเป็นพิเศษ
  6. พักผ่อนให้มากที่สุดเพื่อพักผ่อนเสียงของตัวเอง
  7. บางทีลูกอมเย็นๆ ก็สามารถช่วยให้ชุ่มคอ เพื่อรักษาเสียงที่ดีวิธีหนึ่ง
  8. งดดื่มนมก่อนขึ้นร้องเพลง หรืออาหารและเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของนม เพราะมีผลต่อเสียงของนักร้อง
  9. น้ำเย็นควรทานให้น้อยที่สุด ควรทานน้ำธรรมดา ไม่เย็นมากจนเกินไป
  10. ไม่จำเป็นอย่าเคี้ยวหมากฝรั่งจะดีต่อเสียงมาก เพราะการเคี้ยวหมากฝรั่งมีผลต่อน้ำลายที่หล่อเลี้ยงลำคอให้ลื่นตลอดเวลา